Monday, July 6, 2009

การฟอร์แมต ฮาร์ดดิสก์ เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้ง Windows ใหม่

  • การฟอร์แมต ฮาร์ดดิสก์ เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้ง Windows ใหม่
    การ ฟอร์แมต ฮาร์ดดิสก์ จะเป็นขั้นตอนที่ต้องทำต่อจาก การจัดการแบ่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ หรืออาจจะใช้เมื่อต้องการ ลบข้อมูลทุก ๆ อย่าง ที่มีอยู่ในฮาร์ดดิสก์ออกทั้งหมด เช่น ทำการฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ เพื่อจะทำการลง Windows ใหม่ เป็นต้นหลังจากที่ทำการจัดแบ่งพาร์ติชัน โดยการทำ FDISK เสร็จแล้ว เราจะยังไม่สามารถใช้งาน Hard Disk นั้นได้ในทันที โดยจะต้องทำการ ฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ก่อน ซึ่งก็จะมีวิธีการง่าย ๆ คือใช้คำสั่ง format ที่อยู่ในแผ่น Windows 98 Startup Disk ก่อนอื่นมาดู คำสั่ง ในแบบต่าง ๆ ที่นิยมใช้กันก่อน
    format c: แบบไม่มีอะไรต่อท้าย คือการ format drive c: แบบมาตราฐานทั่วไป format c: /s คือการ format drive c: โดยจะทำระบบ system file ให้สามารถใช้บูทเครื่องได้ด้วย format c: /q คือการ format drive c: แบบรวดเร็ว จะใช้ได้กับ Hard Disk ที่ format แล้วเท่านั้น format c: /c คือการ format drive c: โดยทำการตรวจสอบ bad sector ของฮาร์ดดิสก์ ด้วย format c: /u คือการ format drive c: โดยแบบนี้ จะไม่สามารถทำการ unformat เพื่อกู้ข้อมูลคืนมาได้ รูปแบบของคำสั่ง พอจะแบ่งออกได้คร่าว ๆ คือ
    format คือการเรียกคำสั่ง format นี้เพื่อเริ่มต้นใช้งาน c: หมายถึงชื่อของ drive ที่ต้องการทำการ format โดยที่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจจะมีได้หลาย drive เช่น c: d: e: หรือ f: ก็ได้ แล้วแต่ว่า จะมีการแบ่งพาร์ติชันไว้อย่างไร ตรงนี้ต้องระวัง ใส่ให้ถูกต้อง ไม่เช่นนั้น อาจจะทำให้ข้อมูลต่าง ๆ หายไปหมดได้ /s หรือ /q หรือ /c หรือ /u เป็นการกำหนดการทำงานของการ format เพิ่มเติมจากปกติ ตามรายละเอียดด้านบน โดยอาจจะใส่หรือไม่ต้องใส่ก็ได้ ทั้งนี้การใช้คำสั่งฟอร์แมต แบบต่าง ๆ อาจจะใช้ร่วมกันก็ได้เช่น format c: /s/q คือสั่งฟอร์แมตแบบรวดเร็ว และทำการสร้าง system file เพื่อให้สามารถใช้บูทเครื่องได้ด้วย เป็นต้น
    วิธีการสั่งฟอร์แม็ตฮาร์ดดิสค์ เริ่มจากการบูทเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอาจจะใช้การบูทจากแผ่น Windows Startup Disk แล้วเลือกที่ข้อ 1. จากเมนู หรือจะบูตเครื่องจากฮาร์ดดิสก์ และสั่ง Shutdown โดยเลือกเข้าที่ DOS Mode ก็ได้ จากนั้น พิมพ์คำสั่ง format ตามด้วยค่าพารามิเตอร์ด้านบน และกด ENTER ครับ
    มาดูตัวอย่างและหน้าตาของการทำฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ตามรูปต่อไป โดยรูปตัวอย่างต่อไปนี้ จะเป็นการบูทเครื่องจากแผ่น Windows Startup Disk และเลือกเข้ามาที่ DOS Prompt เข้ามาที่เมนูแรกหรือจะขึ้นเครื่องหมาย A:\> ก่อน จากนั้นพิมพ์คำสั่ง format c: /s (เป็นการสั่งฟอร์แม็ตโดยจะใส่ system file เพื่อให้ใช้บูทเครื่องได้ด้วย)

Saturday, July 4, 2009

เบิร์นแผ่นดิสก์อย่างไรไม่ให้เสีย ด้วย 5 วิธีง่ายๆ

วิธีการที่ถูกต้องที่สุดคือ การ verifying หรือ validating ให้กับการเบิร์นแผ่นซีดีหรือดีวีดีใหม่ๆ ก่อนที่คุณจะนำไปเล่นบนเครื่องเล่นต่างๆ
อารมณ์เสียมั้ยล่ะครับ เวลาที่กำลังรีบส่งงานอยู่แล้วเจ้ากรรม ไดรฟ์เขียนแผ่นซีดีดันเบิร์นแผ่นเจ๊งซะงั้น แถมยิ่งถ้าเหลือแผ่นดิสก์เปล่าแผ่นเดียวด้วยล่ะก็ คุณคงเซ็งน่าดูเลยใช่มั้ยล่ะครับ ผมล่ะคนหนึ่งแล้วที่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ตอนเรียนอยู่ เล่นเอาเซ็งไปเลย ต้องรีบไปหาซื้อแผ่นซีดีแผ่นใหม่ยี่ห้อหรู ที่แสนแพง ราคาต่างกันเกือบ 5 เท่าเลยทีเดียว เพราะมันจำเป็นต้องซื้อ แต่ด้วยเทคนิคง่ายๆ 5 ข้อนี้ ก็จะช่วยให้คุณสามารถลดความผิดพลาดลงและหลีกเลี่ยงปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นในระหว่างการเบิร์นแผ่นซีดีหรือดีวีดีได้มากขึ้น 1.โปรดติ๊กฟังก์ชัน verify: ถ้ามีกฎทองในการเบิร์นแผ่นซีดี/ดีวีดีแล้วล่ะก็ การใช้ซอฟต์แวร์ที่มีฟังก์ชันการ verify หรือ validate เพื่อเปรียบเทียบการเขียนแผ่นกับการอ่านแผ่น ก็จะเป็นอะไรที่ดีเยี่ยมเอามากๆ ถึงแม้ว่าฟังก์ชันการ verify ไม่ได้เพิ่มโอกาสในการเบิร์นแผ่นให้สำเร็จ แต่มันจะช่วยให้คุณรู้ถึงปัญหาในระหว่างการเบิร์นแผ่นดิสก์ได้ แม้ว่าคุณจะเบิร์นแผ่นสำเร็จก็ตาม แต่ในเวลาเล่นแผ่นก็มีโอกาสเกิดบั๊กขึ้นได้เสมอ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่เพราะแผ่นดิสก์ห่วยแต่อย่างใด แต่เกิดขึ้นจากการเริ่มต้นเขียนแผ่นที่ไม่ดีต่างหากล่ะครับ เพราะฉะนั้น ติ๊ก validate ไว้สักนิดก็ดีนะครับ 2. ใช้สื่อบันทึกข้อมูลผิดชนิด: ถ้าคุณคิดว่า คุณสามารถเลือกแผ่นบันทึกข้อมูลที่เจ๋งที่สุดมาเบิร์นนั้น ต้องขอบอกว่าไม่มีทางเป็นไปได้อยู่แล้ว เพราะการเลือกแผ่นบันทึกข้อมูลให้เหมาะสมกับเครื่องเล่นที่ซัปพอร์ตแผ่นชนิดต่างๆ นั้นคือความคิดที่ดีที่สุดในการเลือกแผ่นต่างหาก ยกตัวอย่างเช่น แผ่นดีวีดี ที่มีทั้งแบบ DVD+-R/RW หรือ DVD-RAM เป็นต้น ซึ่งถ้าคุณซื้อแผ่นซีดีหรือดีวีดีที่เป็นยี่ห้อโนเนม แล้วล่ะก็ กฎทองในข้อที่ 1 เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก และมันก็มีโอกาสที่จะเบิร์นแผ่นเสียได้มากกว่า โดยในประสบการณ์ที่เจอ แผ่นดีวีดีจะสามารถเบิร์นแผ่นได้ดีกว่าแผ่นซีดีอยู่แล้ว ในแง่ของการผลิต แต่ในความเป็นจริง หากคุณเลือกใช้แต่แผ่นที่มีราคาต่ำ ไดรฟ์ของคุณก็จะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าที่จะทำให้หัวอ่านซีดีเขียนแผ่นไม่ตรงและไม่แม่นยำได้ ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้การเบิร์นแผ่นของคุณเสีย หรือมีอาการกระตุกครับ
ลองปรับความเร็วในการเบิร์นแผ่นให้ต่ำลง จะให้ผลที่ดีกว่าการเบิร์นที่ความเร็วระดับสูงสุด
3.อย่าเขียนแผ่นซีดีเร็วเกินไป: ผมเชื่อแน่ว่า ทุกคนคงไม่มีใครอยากจะรอนานในเวลาเบิร์นแผ่นดิสก์หรอกครับ แต่อย่างว่า ยิ่งเขียนแผ่น CD-R และ DVD-R เร็วมากเท่าไร โอกาสที่แผ่นจะเสียก็มีมากขึ้นตามไปด้วย แต่ปัญหานี้จะไม่ค่อยเกิดขึ้นกับแผ่นซีดีและดีวีดีแบบ rewritable เพราะแผ่นแบบนี้มันจะเขียนได้ช้ากว่าปกติอยู่แล้ว ซึ่งการเบิร์นแผ่นจะเสียหรือไม่เสียนั้น ปัจจัยหลักคือระยะเวลาในการเขียนแผ่นที่คุณตัดสินใจเลือกนั่นแหละ ที่จะก่อให้เกิดปัญหาแผ่นเสียขึ้นมา ดังนั้นทางที่ดี คุณควรเลือกความเร็ว ที่รองลงมาจากความเร็วสูงสุด หรือต่ำกว่านั้น เพราะถ้าวัดเวลาเขียนแผ่นจริงๆ แทบจะไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องของเวลาเลย อย่างความเร็วที่ 18x และ 16x เป็นต้น แต่สำหรับผมแล้ว น้อยครั้งนักที่ผมจะเขียนแผ่นด้วยความเร็วสูงสุด เต็มทีเลยผมก็เขียนไม่เกิน 10x ละยิ่งถ้าเป็นแผ่นดีวีดีด้วยแล้วล่ะก็ แทบไม่เคยเกิน 4x เลยครับ 4.เฟิร์มแวร์ไม่ใหม่พอ: การอัพเดตเฟิร์มแวร์ให้กับไดรฟ์เขียนแผ่นดิสก์ ก็เป็นอีกหนึ่งทางที่จะทำให้โอกาสในการเขียนแผ่นดิสก์เสียลดลง เพราะเดี๋ยวนี้เครื่องเขียนแผ่นหลายยี่ห้อกำลังแข่งขันกันอย่างหนัก เร่งเวลาในการออกจำหน่ายสู่ตลาด ซึ่งอาจจะทำให้เฟิร์มแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่มากับเครื่องไม่สมบูรณ์เพียงพอในขณะที่เราซื้อ ดังนั้นการอัพเดตเฟิร์มแวร์หรือซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะถ้าคุณไม่แฮปปี้อยู่แล้วกับประสิทธิภาพในการเขียนแผ่น คุณสามารถหาเฟิร์มแวร์อัพเดตได้ที่เว็บไซต์ของผู้ผลิตยี่ห้อต่างๆ อย่าไปรอให้เครื่องเสียซะก่อนค่อยแก้ไขน่ะครับ ยังไงก็กันไว้ดีกว่าแก้ แต่ถ้าเครื่องเขียนแผ่นของคุณไม่ได้เป็นอะไร ใช้งานได้ดีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปอัพเดตแก้ไขเฟิร์มแวร์น่ะครับ เดี๋ยวจะกลายเป็นว่าอัพเดตขึ้นมากลับทำให้เขียนแผ่นเสียมากขึ้นกว่าเดิมอีก แต่ถ้ายังมีปัญหาในการเขียนแผ่นดิสก์เสียเกิดขึ้นอยู่เหมือนเดิม แม้ว่าจะเปลี่ยนยี่ห้อของแผ่นบันทึกแล้วก็ตาม ลองอัพเดตเฟิร์มแวร์หรือซอฟต์แวร์ให้กับเครื่องดู ก็น่าจะช่วยได้เช่นกัน 5.คอมพิวเตอร์คุณไม่เร็วพอ: พีซีเครื่องใหม่ในตอนนี้ มีความเร็วเพียงพอที่จะทำงานอย่างอื่นควบคู่ไปกับการเบิร์นแผ่นในเวลาเดียวกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเบิร์นแผ่นได้สำเร็จทุกครั้งน่ะครับ โอกาสที่แผ่นจะเสียก็ยังมีสูงอยู่ ดังนั้นการปิดแอพพลิเคชันที่ไม่ได้ใช้ หรืออย่างน้อยก็ minimize มันลงมาในขณะที่กำลังเบิร์นแผ่นอยู่ ก็จะช่วยลดโอกาสที่แผ่นจะเสียได้มากขึ้น ซึ่งที่ผมกล่าวมา ผมไม่ได้หมายถึงว่า ให้คุณหยุดทำงานทั้งหมด ในขณะที่เบิร์นแผ่นอยู่ แต่คุณควรระวังเอาไว้ เพราะโอกาสที่เบิร์นแล้วแผ่นจะเสียยังมีอยู่ และยิ่งถ้าคุณมีแผ่นบันทึกเพียงแค่แผ่นเดียวเท่านั้น แถมยังเสียไม่ได้อีกด้วย ผมแนะนำเลยว่า ปิดแอพพลิเคชันทั้งหมด แล้วไปหาอะไรทำเพื่อฆ่าเวลาจะเป็นความคิดที่ดีเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น ดื่มชากาแฟ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ ก่อน จนกว่าการเบิร์นแผ่นจะเสร็จสมบูรณ์ เพียงเท่านี้คุณก็ไม่ต้องกังวลแล้วว่าแผ่นจะเสีย โดยเฉพาะถ้าเครื่องคอมพ์ของคุณเป็นรุ่นเก่าๆ ด้วยแล้วล่ะก็ เปิดแค่โปรแกรมเบิร์นแผ่นอย่างเดียวนี่แหละครับ ดีที่สุด เป็นไงกันบ้างครับกับทิปเทคนิคง่ายๆ ที่ใครหลายๆ คนมักจะมองข้ามความสำคัญตรงจุดนี้ไป ยังไงก็ของให้ทุกคนเบิร์นแผ่นกันได้สำเร็จน่ะครับ มีแผ่นเสียน้อยๆ รวมทั้งเลือกยี่ห้อแผ่นดิสก์ที่ดูมีประสิทธิภาพสูงๆ ด้วยน่ะครับ แล้วพบกับทิปเด็ดๆ กันใหม่ในครั้งต่อไปครับ
  1. สร้างแผ่นกู้รหัสผ่านเข้า XP ก่อนที่จะเกิดปัญหา
    ในกรณีที่คุณเป็นคนขี้ลืมรหัสผ่าน ให้คุณสร้างแผ่นกู้รหัสผ่านก่อนที่จะเกิดปัญหา ในขั้นแรกเลือก Start จากนั้นไปที่ Control Panel แล้วเลือก User Accounts จากนั้นเลือกยูสเซอร์ที่ต้องการจะปรากฏที่แถบด้านซ้ายเลือก Prevent forgotten password แต่คุณต้องทราบรหัสผ่านสำหรับสร้างดิสก์ด้วย จากนั้นให้กดปุ่ม Next จากนั้นใส่แผ่นเปล่าในไดร์ฟ A: แล้วกดปุ่ม Next แล้วใส่รหัสผ่านลงไป แล้วกดปุ่ม Next ต่อไป แค่ก็เสร็จเรียบร้อยเก็บดิสก์นั้นไว้ในทีปลอดภัย